องค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ คุณลักษณะของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง

องค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

1.หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
              การทำงานของคอมพิวเตอร์เริ่มจากการป้อนข้อมูลผ่านเข้าทางหน่วยรับเข้าซึ่งข้อมูลที่ป้อนเข้าไปจะแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าในรูปของตัวเลขในระบบตัวเลขฐานสอง
             จากนั้นคำสั่งจะถูกส่งไปยังหน่วยประมวลผลกลางเพื่อประมวลคำสั่งผลลัพธ์จะถูกส่งไปยังหน่วยความจำหลักประเภทแรม ในขณะเดียวกันก็อาจมีคำสั่งให้นำผลลัพธ์จากการประมวลผลไปแสดงยังหน่วยส่งออกได้ด้วย โดยการส่งผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลไปยังหน่วยข้อมูลต่างๆภายในคอมพิวเตอร์จะผ่านทางระบบบัส

2.องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
    – หน่วยรับเข้า
   – หน่วยส่งออก
   – หน่วยประมวลผลกลาง
   –  หน่วยความจำหลัก
   – หน่วยความจำรอง
   1. หน่วยรับเข้า
  เป็นอุปกรณ์ที่นำข้อมูลหรือโปรแกรมเข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจำหลักและใช้ในการประมวลผล เช่น แป้นพิมพ์  เมาส์ เป็นต้น
   2. หน่วยส่งออก
  แสดงผลข้อมูลที่ได้รับการประมวลแล้ว เช่น ลำโพง จอแบน จอนูน
   3. หน่วยประมวลผลกลาง
  – เรียกอีกอย่างว่า ซีพียู (Central Processing Unit : CPU)
  – ชิพเรียกอีกอย่างว่า ไมโครโพรเซสเซอร์
  หน่วยประมวลผลกลางแบ่งเป็น2หน่วย
 1. หน่วยควบคุม ทำหน้าที่ในการควบคุมลำดับการทำงานภายในหน่วยประมวลผลกลางระหว่างประมวลผล
 2. หน่วยคำนวณและตรรกะ ทำหน้าที่นำข้อมูลซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าแบบตัวเลขฐานสองมาประมวลผลทางคณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์
4. หน่วยความจำหลัก
   มีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลและโปรแกรมที่จะให้ซีพียูเรียกไปใช้งาน มี 2ประเภท
1. แรม (Random Access Memory: RAM) เป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลทั่วไป
-การอ้างอิงตำแหน่งที่อยู่ของข้อมูลใดๆเพื่อการเขียนและการอ่านเข้าถึงโดยการสุ่ม
-หน่วยความจำประเภทนี้จะเก็บข้อมูลไว้ตราบเท่าที่มีกระแสไฟฟ้ายังจ่ายให้วงจรหากไฟดับข้อมูลจะสูญหายทันที
2. รอม (Read Only Memory: ROM) เป็นหน่วยความจำอีกประเภทที่มีการอ้างอิงตำแหน่งข้อมูลแบบสุ่ม
– เป็นหน่วยความจำที่เอาไว้บรรจุโปรแกรม
– ข้อมูลหรือโปรแกรมที่เก็บไว้ในรอมจะถูกบันทึกมาก่อนแล้วผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูลได้แต่ไม่สามารถเขียนได้
– ข้อมูลหรือโปรแกรมที่อยู่ในรอมจะอยู่อย่างถาวร

5. หน่วยความจำสำรอง
 -แรมเป็นหน่วยความจำหลักสำหรับเก็บข้อมูลเหล่านี้จะถูกลบไปถ้าปิดเครื่อง
 -จึงต้องมีหน่วยความจำสำรองเพื่อใช้เก็บข้อมูลที่ต้องการใช้งานต่อเช่น ดิสก์

คุณลักษณะของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง

คุณลักษณะของคอมพิวเตอร์
   ประเภทของคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 5 ประเภท
 1. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์
 2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์
 3. มินิคอมพิวเตอร์
 4. ไมโครคอมพิวเตอร์
 5. คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก
 

1. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์
  มีความเร็วในการประมวลผลสูง
 – มีราคาแพงมาก
 – มีขนาดใหญ่
  – สามารถคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้หลายแสนล้านครั้งต่อวินาที
  -ใช้แก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และทางวิศวกรรมศาสตร์ได้อย่างรวดเร็ว
  -พยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็นระยะเวลาหลายวัน

  -วิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียม
  -งานจำลองที่ซับซ้อนมากๆ

2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์
-มีสมรรถนะในการทำงานสูงแต่ไม่เน้นในการคำนวณ
-มีความเร็วสูง
-ให้บริการผู้ใช้จำนวนหลายๆร้อยคนพร้อมกัน
-นิยมใช้ในองค์กรใหญ่ๆ

3. มินิคอมพิวเตอร์
 เหมาะสำหรับในองค์กรขนาดกลางที่ให้บริการข้อมูลแก่เครื่องลูกข่ายเช่น โรงแรม โรงพยาบาล
 

4. ไมโครคอมพิวเตอร์
  -ได้รับความนิยมสูงสุด
  -มีประสิทธิภาพสูงและราคาไม่แพง
  -เหมาะสำหรับใช้ส่วนตัว
5. คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก
  -สามารถจัดเก็บข้อมูลประจำวันได้
 – สร้างปฏิทิน บันทึกเตือนความจำ เล่นเกม ชมภาพยนตร์ ฟังเพลง
    และรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
  -ปัจจุบัน เช่น ไอโฟน แบล็คเบอร์รี่ พีดีเอ ปาล์มท็อป

  

 อุปกรณ์ต่อพ่วง


   อุปกรณ์ต่อพ่วง หมายถึงอุปกรณ์ต่างๆที่สามารถต่อเข้ากับอุปกรณ์ของหน่วยประมวลผลกลางและประกอบเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการใช้งาน
 1. แผงแป้นอักขระ เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลจากการกดแป้นแล้วทำการเปลี่ยนรหัสและส่งไปยังคอมพิวเตอร์ประมวลผล
 2. เมาส์ เป็นอุปกรณ์ประเภทตัวชี้ที่รับข้อมูลจากการกดปุ่มบนตัวเมาส์ทำหน้าที่คลิกปุ่มคำสั่งและเลือกรายการ แบ่งเป็น 2 ประเภท
2.1 เมาส์ทางกล
2.2 เมาส์ใช้แสง
3.อุปกรณ์ชี้ตำแหน่งสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เป็นอุปกรณ์รับเข้าที่ออกแบบให้สามารถติดอยู่กับตัวเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กได้เลย มี 3 ประเภท
3.1 ลูกกลมควบคุม
3.2 แท่งชี้ควบคุม
3.3 แผ่นรองสัมผัส
4. ก้านควบคุม มีลักษณะเป็นก้านที่โผล่มาจากกล่องผู้ใช้สามารถใช้อุปกรณ์นี้ควบคุมการเคลื่อนที่ของตัวชี้บนจอภาพ นิยมใช้เล่นเกม
5. จอสัมผัส
เป็นอุปกรณ์รับเข้าที่รับข้อมูลจากการสัมผัสบนหน้าจอ
-เมื่อมีการเลือก ตำแหน่งที่ถูกเลือกจะถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปยังซอฟแวร์ที่แปลคำสั่งให้คอมพิวเตอร์
-ซอฟแวร์ที่ใช้กับจอสัมผัสจะเป็นซอฟแวร์ที่เขียนขึ้นโดยเฉพาะ
-ปัจจุบันจะพบจอสัมผัสได้ในโทรศัพท์เคลื่อนที่ เกมในห้างสรรพสินค้า

6. อุปกรณ์รับเข้าแบบกราดตรวจ ที่นิยมมีอยู่ 3 ประเภท
6.1 เครื่องอ่านรหัสแท่ง
6.2 เครื่องกราดตรวจหรือสแกนเนอร์
6.3 เครื่องดิจิทัล
7. เว็บแคม (Web cam ย่อมาจาก Web Camera) เป็นอุปกรณ์รับเข้าประเภทกล้องวีดีโอที่สามารถบันทึกและถ่ายทอดภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหวผ่านระบบเว็บไซต์หรือโปรแกรมแล้วส่งต่อไปปรากฏในจอภาพ
8. จอภาพ มี 2 ประเภทได้แก่
8.1 จอภาพแบบซีอาร์ที
8.2 จอภาพแบบแอลซีดี
9. ลำโพง เป็นอุปกรณ์ที่แสดงผลเป็นข้อมูลเสียงโดยต้องงานคู่กับการ์ดเสียงซึ่งเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ติดตั้งอยู่บนแผงวงจรหลักในเครื่องคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นอะนาลอกแล้ส่งไปยังลำโพง
10. หูฟัง เป็นอุปกรณ์ส่งออกที่ใช้สำหรับฟังเพลงและฟังเสียงจากคอมพิวเตอร์โดยทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าเป็นเสียงให้เราได้ยิน
11. เครื่องพิมพ์ เป็นอุปกรณ์ส่งออกที่แสดงผลงานบนกระดาษเครื่องพิมพ์ที่ใช้ในปัจจุบัน
11.1 เครื่องพิมพ์แบบจุด
11.2เครื่องพิมพ์เลเซอร์                                                                                                       
11.3 เครื่องพิมพ์แบบหมึกฉีด
11.4 พล็อตเตอร์ เป็นเครื่องพิมพ์ขนาดใหญ่ที่ใช้ความเที่ยงตรงมีความละเอียดที่ถูกต้องสูง สามารถพิมพ์ลงบนกระดาษที่มีขนาดใหญ่ได้
12. โมเด็ม เป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆได้ 

ใส่ความเห็น